19 ต.ค. 2564

6,960

รู้เท่าทันกฎหมายพ.ร.บ. ภาษี

การต่อพ.ร.บ. ภาษี สำคัญอย่างไร??
1 กฏหมายบังคับให้ทุกคนที่มีรถเอาไว้ในครอบครองต้องดำเนินการเสียภาษีประจำปี 
(พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522)
2 ป้ายภาษีเป็นหลักฐานการแสดงต่อหน่วยงานรัฐว่าทำตามกฎหมายถูกต้อง ไม่ต้องถูกปรับ
3 การต่อภาษีรถเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณาความคุ้มครองจากผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.)

การประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือ “ประกัน พ.ร.บ.” คือ ?
ประกัน พ.ร.บ. หมายถึง การประกันภัยที่เจ้าของรถซึ่งใช้รถ หรือมีรถไว้เพื่อใช้จะต้องดำเนินการจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ
ซึ่งผู้ประสบภัย คือ ผู้ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยเนื่องจากรถที่ใช้ หรืออยู่ในทาง ซึ่งหมายถึง คนเดินถนน ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร
ความสำคัญของการทำประกันภัย พ.ร.บ. (ภาคบังคับ)
ตามกฎหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ กำหนดให้ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองรถเป็นผู้มีหน้าที่ทำประกันภัยพ.ร.บ. หากรถไม่มีประกันภัย พ.ร.บ. จะไม่สามารถต่อภาษีรถได้
ผลกระทบจากการไม่ทำประกันภัยพ.ร.บ.
1.กรณีที่ไม่มีประกันภัยพ.ร.บ. แล้วเกิดอุบัติเหตุและก่อให้เกิดความเสียหายกับบุคคลภายนอก ผู้ครอบครองต้องเป็นผู้ชำระค่าเสียหายให้บุคคลภายนอกนั้นเอง และเสียค่าปรับที่เกี่ยวข้องกับการไม่ทำประกันภัยพ.ร.บ.
2.ไม่สามารถต่อภาษีรถประจำปีได้
เอกสารที่ใช้ในการประกอบการเคลม พ.ร.บ.
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการเคลมพ.ร.บ. แต่ละกรณี ของบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด

ผลกระทบจากการไม่ต่อภาษี
ผู้ครอบครองรถถือเป็นผู้มีหน้าที่ในการชำระค่าภาษีรถประจำปี ซึ่งหากไม่ชำระภายในกำหนด จะมีผลดังนี้
1.กรณีค้างชำระภาษีรถประจำปีไม่ถึงสามปี นายทะเบียน (ขนส่ง) มีอำนาจที่จะไม่รับดำเนินการด้านทะเบียนใดๆ จนกว่าจะเสียภาษีที่ค้างชำระและเงินเพิ่มให้ครบถ้วน 
2.กรณีค้างชำระภาษีรถประจำปีติดต่อกันครบสามปี ทะเบียนรถจะถูกระงับไป จะต้องนำคู่มือจดทะเบียนรถไปแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง  ฝ่าฝืนอาจถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท) หากจะต้องดำเนินการเกี่ยวกับเล่มทะเบียน จะต้องชำระค่าภาษีที่ค้างสามปีและเงินเพิ่ม รวมถึงต้องดำเนินการขอจดทะเบียนรถใหม่ต่อไป กรณีที่ผู้ครอบครองกระทำผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ใช้รถที่ถูกระงับทะเบียน หรือใช้รถที่ไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษีรถประจำปี ผู้ครอบครองจะต้องเสียค่าปรับด้วยตนเอง
เอกสารประกอบการต่อภาษีประจำปี
1.เล่มทะเบียน หรือ สำเนาเล่มทะเบียน
2.ส่วนท้าย พ.ร.บ. หรือสำเนาพ.ร.บ.เต็มฉบับ

ขอขอบคุณข้อมูลจากบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด : http://www.rvp.co.th/ClaimQA.php

ดูข่าวทั้งหมด ดูข่าวทั้งหมด

ข่าวอื่นที่คุณอาจสนใจ