25 มี.ค. 2565

2,521

รู้ไว้ไม่ทำผิด! เตือนภัยกลโกงกับน้องเติมฝัน การนำเครื่องจักรกลการเกษตรทำการบุกรุกป่าไม้ ถือว่ามีความผิด ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ และ พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ

เตือนภัยกลโกงกับน้องเติมฝัน ขอหยิบยกหนึ่งในประเด็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการเช่าซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร และเป็นข้อควรรู้ที่สำคัญ คือ ห้ามนำเครื่องจักรกลการเกษตรที่อยู่ระหว่างการเช่าซื้อกระทำการบุกรุกป่าไม้พื้นที่ของรัฐ อาทิเช่น พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตวนอุทยาน หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นต้น 
เพราะหากกระทำการใด ๆ ในพื้นที่ดังกล่าวทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ทั้งอาจถูกว่าจ้างจากนายจ้างด้วยค่าจ้างที่สูงกว่าปกติ เพื่อไปแผ้วถางในพื้นที่ต้องห้ามโดยใช้เครื่องจักรกลการเกษตรของเกษตรกร
โดยเกษตรกรที่รับจ้างอาจไม่ทราบว่าพื้นที่ดังกล่าวคือเขตหวงห้าม และหากเจ้าหน้าที่รัฐได้รับแจ้งว่ามีการบุกรุกพื้นที่ป่าแล้วนั้น ผู้ที่ได้รับโทษคือ เกษตรกรที่เข้าไปกระทำการใด ๆ ในพื้นที่เขตพื้นที่ดังกล่าว และอาจถูกตัดสินให้รับโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ

โดยใน พ.ร.บ. ป่าไม้ หรือ พระราชบัญญัติป่าไม้ ระบุไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใด ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ที่เป็นการทำลายป่า ถ้าฝ่าฝืน จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

ตลอดจน พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ หรือ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งพื้นที่ป่าสงวนนั้นจะถูกกำหนดโดยรัฐ และมีเส้นแบ่งหรือขอบรั้วที่ชัดเจน การทำการเกษตรในพื้นที่ป่าสงวนนั้นถือว่ามีความผิด ตามที่ระบุไว้ว่า 
ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติจะโดนให้ออกจากพื้นที่ ยึด ทำลาย รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง และระวางโทษจำ คุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าพื้นที่ป่าที่ไม่ควรบุกรุกครอบคลุมถึงบริเวณใดบ้าง?

สามารถตรวจสอบได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
1. สังเกตป้ายแจ้งเขตพื้นที่ต่าง ๆ หรือสอบถามผู้คนในพื้นที่
2. ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน “พิทักษ์ไพร” ระบบปฏิบัติการพื้นที่บุกรุกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทราบจุดที่มีกาzบุกรุกไฟป่า ตรวจสอบสถานภาพที่ดินของรัฐ และข้อมูลภูมิสารสนเทศ https://change.forest.go.th/
3. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “พิทักษ์ไพร” ได้ที่ 
- App Store >> ดาวน์โหลดได้ที่นี่
- Google Play >> ดาวน์โหลดได้ที่นี่

ดูข่าวทั้งหมด ดูข่าวทั้งหมด

ข่าวอื่นที่คุณอาจสนใจ