18 ธ.ค. 2566

467

แนะนำ 4 ข้อเตือนใจ ใช้โมบายแบงก์กิ้งยังไง? ให้ปลอดภัยสุด ๆ

สยามคูโบต้า ลีสซิ่ง แนะนำ 4 ข้อเตือนใจ🤨
ใช้โมบายแบงก์กิ้งยังไง? 📱 ให้ปลอดภัยสุด ๆ 
ป้องกันไว้ก่อน ลดความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพ 👌

ปัจจุบันโมบายแบงก์กิ้ง (Mobile Banking) หรือบริการธุรกรรมออนไลน์ ที่ให้บริการในการชำระเงินและทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารหรือสถาบันการเงิน โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาและค่าเดินทางไปธนาคาร เพียงแค่มีสมาร์ตโฟนและอินเทอร์เน็ต ก็สามารถทำรายการได้ แม้ว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกสบาย แต่เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานของผู้ใช้งาน ควรใส่รหัสผ่าน (PIN 6 ตัว) หรือสแกนลายนิ้วมือ (fingerprint) หรือใบหน้า (face ID) ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าสมาร์ตโฟน เพื่อเป็นการยืนยันการทำธุรกรรม ป้องกันบุคคลอื่นสวมรอย และช่วยให้การทำธุรกรรมการเงินผ่านอุปกรณ์เป็นไปอย่างปลอดภัย

ประโยชน์ของโมบายแบงก์กิ้ง (Mobile Banking) ใช้ทำอะไรได้บ้าง 
✔️ โอนเงินชำระค่าสินค้าและบริการ ด้วยการโอนผ่านแอปพลิเคชันหรือสแกนคิวอาร์โคด (QR code)
✔️ การรับชำระเงินด้วยคิวอาร์โคด (QR code)
✔️ ชำระบิลค่าใช้จ่าย และค่าน้ำ ค่าไฟ
✔️ เติมเงินกระเป๋าเงินดิจิทัล (e-Wallet) โทรศัพท์มือถือ เกม หรืออินเทอร์เน็ต
✔️ บริการอื่น ๆ เช่น เปิดบัญชี e-Saving  และการลงทุน เป็นต้น 

แม้ว่าฟังก์ชันการใช้งานหลักของโมบายแบงก์กิ้ง (Mobile banking) กับอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (Internet banking) จะมีความใกล้เคียงกัน แต่บางธนาคารจะออกแบบให้อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (Internet banking) รองรับการทำธุรกรรมจำนวนมาก เช่น การโอนเงินแบบกลุ่ม หรือการให้วงเงินโอนที่สูงกว่าโมบายแบงก์กิ้ง (Mobile banking) เพื่อตอบโจทย์เจ้าของกิจการ หรือธุรกิจประเภท SMEs ซึ่งสามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับรูปแบบความต้องการใช้งาน และควรศึกษารายละเอียด รูปแบบบริการ และเงื่อนไขต่าง ๆ ในการประกอบการตัดสินใจ

👍🏼ข้อดีของการใช้บริการโมบายแบงก์กิ้ง (Mobile Banking)

  • ไม่เสียเวลาและค่าเดินทางไปยังสาขาของธนาคาร และไม่ต้องเสียเวลาในการรอคิว
  • สามารถทำธุรกรรมผ่านทางออนไลน์ และตรวจสอบรายการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ปลอดภัย ตั้งค่าแจ้งเตือนได้ เมื่อเข้าสู่ระบบและสามารถรับเงินเข้าและโอนเงินออกได้

4 ข้อเตือนภัย ใช้โมบายแบงก์กิ้ง (Mobile Banking) ยังไง? ให้ปลอดภัยสุด ๆ

  1. ติดตั้งหรืออัปเดตแอปพลิเคชันของธนาคารผ่านทาง App Store หรือ Google Play Store ทางการเท่านั้น
  2. ควรใช้รหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดาและควรเปลี่ยนบ่อย ๆ หรือใช้อักขระพิเศษเข้าไปผสมด้วย
  3. ไม่ใช้สัญญาณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wi-Fi) สาธารณะ ขณะทำธุรกรรมทางการเงิน
  4. ควรทำธุรกรรมด้วยตนเองเท่านั้น ไม่ควรให้ผู้อื่นทำแทน

ข้อควรระวังในการใช้งาน

  • ไม่ควรคลิกลิงก์ ดาวน์โหลดไฟล์ และแอปฯ จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ
  • ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสที่มีลิขสิทธิ์
  • หมั่นอัปเดตซอฟต์แวร์ของอุปกรณ์เป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการทำ Jailbreak/ Root อุปกรณ์
  • ไม่ให้ ไม่กรอก และไม่บอกข้อมูลสำคัญหรือข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้ในการทำธุรกรรมออนไลน์  

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

ดูข่าวทั้งหมด ดูข่าวทั้งหมด

ข่าวอื่นที่คุณอาจสนใจ